เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ “อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย”

images

 

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นรูปหล่อลอยตัว ประกอบด้วยรูปเล่มรัฐธรรมนูญในสมุดไทย ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า สร้างด้วยทองแดง มีความสูง ๓ เมตร หนัก ๔ ตัน ตั้งบนฐานรูปทรงกลมด้านบนโค้งกลม ลานอนุสาวรีย์ยกสูงมีบันไดโดยรอบ รอบนอกลานอนุสาวรีย์มีครีบทรงแบน อยู่ ๔ ทิศ ที่โคนครีบ มีภาพแกะสลักลายปั้นนูน และมีรั้วเตี้ย ๆ กั้นโดยรอบลานอนุสาวรีย์ รั้วนี้ใช้ปืนใหญ่โบราณจำนวน ๗๕ กระบอก ฝังดินโผล่ท้ายกระบอกขึ้นมา เป็นเสา คล้องโซ่เชื่อมต่อกัน

–ครีบ ๔ ด้าน สูงจากแท่นพื้น ๒๔ เมตร มีรัศมียาว ๒๔ เมตร หมายถึง วันที่ ๒๔ ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง

–พานรัฐธรรมนูญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดป้อมกลางตัวอนุสาวรีย์ สูง ๓ เมตร หมายถึง เดือน ๓ หรือ เดือนมิถุนายน (ขณะนั้นนับเมษายนเป็นเดือนแรกของปี) ตรงกับเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองสมัยนั้น และหมายถึง อำนาจอธิปไตยทั้ง ๓ ภายใต้รัฐธรรมนูญ (นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ)

–ปืนใหญ่จำนวน ๗๕ กระบอก (ปากกระบอกปืนฝังลงดิน) โดยรอบฐานของอนุสาวรีย์ที่มีโซ่เหล็กร้อยไว้ หมายถึงปีที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (เลข ๗๕ เป็นเลขท้ายสองหลักของปี พ.ศ. ๒๔๗๕) ส่วนโซ่ที่ร้อยไว้ด้วยกันหมายถึงความสามัคคีพร้อมเพรียงของคณะปฏิวัติ

–ลายปั้นนูนที่ฐานครีบทั้ง ๔ เน้นถึงเรื่องราวการดำเนินงานของคณะราษฎรตอนที่นัดหมายและแยกย้ายกันก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕

–พระขรรค์ ๖ เล่ม ที่รายล้อมรอบป้อมกลางตัวอนุสาวรีย์ หมายถึง หลัก ๖ ประการของคณะราษฎร

–อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ออกแบบโดยหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล ควบคุมการก่อสร้างจนแล้วเสร็จโดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ศิลปินผู้ปั้นอนุสาวรีย์ คือ นายสิทธิเดช แสงหิรัญ

ข้อมูลจาก : http://www.dmc.tv

บทเรียนสำเร็จรูป พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทย สมัย ประชาธิปไตย

สวัสดีค่ะ  วันนี้เอาบทเรียนสำเร็จรูปมาฝากกันเนาะ  คบิกเข้าไปได้เลยนะคะ  เป็นไฟล์ PDF

บทเรียนสำเร็จรูปบทบาทของพระมหากษัตริย์ต่อความมั่นคงและความเจริ

6แบบเผยแพร่เวป

แบบตอบรับเปล่า

ติดต่อครูเพียวได้ที่ https://www.facebook.com/nattha.rachamool

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมนะคะ

กฎอัยการศึก คืออะไร

INFO-_~1

กฎอัยการศึก คืออะไร

            กฎอัยการศึก (Martial Law หรือ Military Law) คือ กฎหมายซึ่งได้ตามขึ้นไว้สำหรับประกาศใช้เมื่อมีเหตุจำเป็น ทั้งนี้เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีที่เกิดสงคราม เกิดจลาจล ซึ่งในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกนั้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ในการระงับปราบปรามหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย และศาลทหารก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน

            กฎอัยการศึก เป็นกฎหมายที่มีอยู่ในเวลาปกติ แต่จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อมีการประกาศบังคับใช้และกำหนดเขตพื้นที่ที่จะบังคับใช้ ซึ่งในประเทศไทยนั้น กฎอัยการศึกถูกตราเป็นกฎหมายชัดเจน ขณะที่บางประเทศก็ไม่มีการตราเป็นกฎหมายชัดเจน เช่น สหรัฐฯ อังกฤษ เป็นต้น

 

กฎอัยการศึกในประเทศไทย         

            ประเทศไทยตรากฎหมายกฎอัยการศึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ กฎอัยการศึก ร.ศ. 126 ตรงกับ พ.ศ. 2450 ที่ขณะนั้นประเทศไทยได้มีการปรับปรุงกฎหมายขนานใหญ่ให้ทันสมัย เพื่อจะได้ขอฝรั่งยกเลิกเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่ไทยเสียเอกราชทางศาลอยู่ โดยมีทั้งสิ้น 9 มาตรา และถอดแบบมาจากกฎอัยการศึกของประเทศฝรั่งเศส

            ต่อมาในปี พ.ศ. 2457 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าอำนาจของทหารตามกฎอัยการศึก ร.ศ. 126 นั้น ยึดตามแบบฝรั่งเศส แต่ไทยใช้ตำราพิชัยสงครามตามแบบอินเดีย ซึ่งไม่สอดคล้องกัน จึงทรงยกเลิกกฎอัยการศึก ร.ศ. 126 และตรากฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 ขึ้นใช้แทน มีทั้งสิ้น 17 มาตรา และยังคงใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้ โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมรวม 5 ครั้ง

army2

สาระสำคัญของกฎอัยการศึก

            พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 ฉบับนี้ยังใช้อยู่จนปัจจุบัน มีสาระสำคัญ คือ

            1. การประกาศกฎอัยการศึกจะเป็นไปโดยพระบรมราชโองการหรือผู้บังคับบัญชาทหารที่มีกำลังอยู่ ใต้บังคับบัญชา ไม่น้อยกว่า 1 กองพัน ประกาศใช้ก็ได้ แต่การยกเลิกใช้กฎอัยการศึก จะเป็นไปได้ต่อเมื่อมีพระบรมราชโองการประกาศเลิกใช้เท่านั้น

            2. ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ การระงับปราบปราม หรือ การรักษาความสงบเรียบร้อย และเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนต้องปฏิบัติตามความต้องการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร (มาตรา 6)

            3. เมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึกในตำบลใด เมืองใด มณฑลใด เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเต็มที่จะ ตรวจค้น ที่จะเกณฑ์ ที่จะห้าม ที่จะยึด ที่จะเข้าอาศัย ที่จะทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ และที่จะขับไล่ (มาตรา 8)

            4. ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างหนึ่งอย่างใด ในเรื่องอำนาจที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตามข้อ 3 บุคคล หรือบริษัทใดจะร้องขอค่าเสียหายหรือค่าปรับอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไม่ได้เลย …( มาตรา 16)

            มาตรการทางกฎหมายที่ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร โดยกฎอัยการศึกนี้ ได้รับการยอมรับอย่างมั่นคงในรัฐธรรมนูญแห่งราชาอาณาจักรไทยตลอดมา ฉบับปัจจุบันก็ปรากฏความในมาตรา 222 ว่า

            “มาตรา 222 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการประกาศใช้และเลิกใช้กฎอัยการศึกตามลักษณะและวิธีการตามกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึก”  ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องประกาศใช้กฎอัยการศึกเฉพาะแห่งเป็นการรีบด่วน เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารย่อมกระทำได้ตามกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึก

army

 

กฎอัยการศึก มีอำนาจอะไรบ้าง

            หลังจากประกาศกฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจตามมาตรา 8 กล่าวคือ… “เมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึกในตำบลใด, เมืองใด, มณฑลใด, เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเต็มที่จะตรวจค้น, ที่จะเกณฑ์, ที่จะห้าม, ที่จะยึด, ที่จะเข้าอาศัย, ที่จะทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่, และที่จะขับไล่” ดังนี้…

     

 
การตรวจค้น (มาตรา 9)

            การตรวจค้นนั้น ให้มีอำนาจที่จะตรวจค้น ดังต่อไปนี้

            1. ที่จะตรวจ ค้น บรรดาสิ่งซึ่งจะเกณฑ์ หรือต้องห้าม หรือต้องยึด หรือจะต้อง เข้าอาศัย หรือมีไว้ในครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งมีอำนาจที่จะตรวจค้นได้ไม่ว่าที่ตัวบุคคล ในยานพาหนะ เคหสถาน สิ่งปลูกสร้าง หรือที่ใด ๆ และไม่ว่าเวลาใด ๆ ทั้งสิ้น

            2. ที่จะตรวจข่าวสาร จดหมาย โทรเลข หีบ ห่อ หรือสิ่งอื่นใดที่ส่งหรือมีไปมาถึงกัน ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก

            3. ที่จะตรวจหนังสือ สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ ภาพโฆษณา บทหรือคำประพันธ์
   
 
การเกณฑ์ (มาตรา 10)

            การเกณฑ์นั้นให้มีอำนาจที่จะเกณฑ์ได้ดังนี้

            1. ที่จะเกณฑ์พลเมืองให้ช่วยกำลังทหารในกิจการ ซึ่งเนื่องในการป้องกันพระราชอาณาจักร หรือช่วยเหลือเกื้อหนุนราชการทหารทุกอย่างทุกประการ

            2. ที่จะเกณฑ์ยวดยาน, สัตว์พาหนะ, เสบียงอาหาร, เครื่องศาตราวุธ, และเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ จากบุคคลหรือบริษัทใด ๆ ซึ่งราชการทหารจะต้องใช้เป็นกำลังในเวลานั้นทุกอย่าง
     

 

 

ารห้าม (มาตรา 11)

            การห้ามนั้น ให้มีอำนาจที่จะห้ามได้ดังนี้

            1. ที่จะห้ามมั่วสุมประชุมกัน

            2. ที่จะห้ามออก จำหน่าย จ่ายหรือแจก ซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ ภาพบทหรือคำประพันธ์

            3. ที่จะห้ามโฆษณา แสดงมหรสพ รับหรือส่งซึ่งวิทยุ วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์

            4. ที่จะห้ามใช้ทางสาธารณะเพื่อการจราจรไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ รวมถึงทางรถไฟและทางรถรางที่มีรถเดินด้วย

            5. ที่จะห้ามมีหรือใช้เครื่องมือสื่อสารหรืออาวุธ เครื่องอุปกรณ์ของอาวุธ และเคมีภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใดที่มีคุณสมบัติทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช หรือทรัพย์สิน หรือที่อาจนำไปใช้ทำเป็นเคมีภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใดที่มีคุณสมบัติดังกล่าวได้

            6. ที่จะห้ามบุคคลออกนอกเคหสถานภายในระหว่างระยะเวลาที่กำหนด

            7. ที่จะห้ามบุคคลเข้าไปหรืออาศัยอยู่ในเขตท้องที่ใดซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อการยุทธ การระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยและเมื่อได้ประกาศห้ามเมื่อใดแล้ว ให้ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตนั้นออกไปจากเขตนั้นภายในกำหนดเวลาที่ได้ประกาศกำหนด

            8. ที่จะห้ามบุคคลกระทำหรือมีซึ่งกิจการหรือสิ่งอื่นใดได้ ตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้กำหนดไว้ว่าควรต้องห้ามในเวลาที่ได้มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก

 

 

การยึด (มาตรา 12)

            บรรดาสิ่งซึ่งกล่าวไว้ ในมาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 11 นั้น ถ้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารเห็นเป็นการจำเป็น จะยึดไว้ชั่วคราวเพื่อมิให้เป็นประโยชน์แก่ราชศัตรู หรือเพื่อเป็นประโยชน์แก่ราชการทหาร ก็มีอำนาจยึดได้
    
 

 

 

การเข้าอาศัย (มาตรา 13)

            อำนาจการเข้าพักอาศัยนั้น คือ ที่อาศัยใด ๆ ซึ่งราชการทหารเห็นจำเป็นจะใช้เป็นประโยชน์ในราชการทหารแล้ว มีอำนาจอาศัยได้ทุกแห่ง
    

 
 
การทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ (มาตรา 14)

            การทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่นั้น ให้มีอำนาจกระทำได้ดังนี้

            1. ถ้าแม้การสงครามหรือรบสู้เป็นรองราชศัตรู มีอำนาจที่จะเผาบ้าน และสิ่งซึ่งเห็นว่าจะเป็นกำลังแก่ราชศัตรู เมื่อกรมกองทหารถอยไปแล้ว หรือถ้าแม้ว่าสิ่งใด ๆ อยู่ในที่ซึ่งกีดกับการสู้รบก็ทำลายได้ทั้งสิ้น

            2. มีอำนาจที่จะสร้างที่มั่น หรือดัดแปลงภูมิประเทศหรือหมู่บ้าน เมือง สำหรับการต่อสู้ราชศัตรู หรือเตรียมการป้องกันรักษา ตามความเห็นชอบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้ทุกอย่าง

 

 

การขับไล่ (มาตรา 15)

            ถ้ามีผู้หนึ่งผู้ใด ซึ่งไม่มีภูมิลำเนาอาศัยเป็นหลักฐาน หรือเป็นผู้มาอาศัยในตำบลนั้นชั่วคราว เมื่อมีความสงสัยอย่างหนึ่งอย่างใดหรือจำเป็นแล้ว มีอำนาจที่จะขับไล่ผู้นั้นให้ออกไปจากเมืองหรือตำบลนั้นได้

            มาตรา 15 ทวิ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลใดจะเป็นราชศัตรูหรือได้ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของพระราชบัญญัตินี้ หรือต่อคำสั่งของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจกักตัวบุคคลนั้นไว้เพื่อการสอบถามหรือตามความจำเป็นของทางราชการทหารได้ แต่ต้องกักไว้ไม่เกินกว่า 7 วัน

 

 

ร้องขอค่าเสียหายหรือค่าปรับจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไม่ได้ (มาตรา 16)

ความเสียหายซึ่งอาจบังเกิดขึ้นอย่างหนึ่งอย่างใด ในเรื่องอำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในมาตรา 8 และมาตรา 15 บุคคลหรือบริษัทใด ๆ จะร้องขอค่าเสียหายหรือค่าปรับอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไม่ได้เลย เพราะอำนาจทั้งปวงที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้ปฏิบัติและดำเนินการตามกฎอัยการศึกนี้ เป็นการสำหรับป้องกันพระมหากษัตริย์ ชาติ ศาสนา ด้วยกำลังทหารให้ดำรงคงอยู่ในความเจริญรุ่งเรืองเป็นอิสรภาพ และสงบเรียบร้อยปราศจากราชศัตรูภายนอกและภายใน

 

 

 

….…………………………………………………………………………………………………………………..

ขอขอบคุณ

http://hilight.kapook.com/view/102339

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วันช้างไทย 13 มีนาคม

วันช้างไทย

ที่มาของวันช้างไทย

วันช้างไทย เกิดจากการริเริ่มของคณะอนุกรรมการประสานงานการอนุรักษ์ช้างไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงาน องค์การภาครัฐและเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ช้างไทยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเล็งเห็นว่าหากมีการสถาปนาวันช้างไทยขึ้น ก็จะช่วยให้ประชาชนคนไทย หันมาสนใจช้าง รักช้าง หวงแหนช้าง ตลอดจนให้ความสำคัญต่อการให้ความช่วยเหลืออนุรักษ์ช้างมากขึ้น

คณะอนุกรรมการฯ จึงได้พิจารณาหาวันที่เหมาะสม ซึ่งครั้งแรกได้พิจารณาเอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทำยุทธหัตถี มีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา แต่วันดังกล่าวถูกใช้เป็นวันกองทัพไทยไปแล้ว จึงได้พิจารณาวันอื่น และเห็นว่าวันที่ 13 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการคัดเลือกสัตว์ประจำชาติ มีมติให้ช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยนั้นมีความเหมาะสม จึงได้นำเสนอมติตามลำดับขั้นเข้าสู่คณะรัฐมนตรี โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีกทางหนึ่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม 2541 เห็นชอบให้ วันที่ 13 มีนาคม เป็นวันช้างไทย และได้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2541

ผลจากการที่ประเทศไทยมีวันช้างไทยเกิดขึ้น นับเป็นการยกย่องให้เกียรติว่าเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญอีกครั้ง นอกเหนือจากเกียรติที่ช้างเคยได้รับในอดีต ไม่ว่าจะเป็นช้างเผือกในธงชาติ หรือช้างเผือกที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ หรือสัตว์คู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์

วันช้างไทย

ความสำคัญของช้างไทย

– ช้างเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์ไทย

ช้างเป็นสัตว์ที่ดำรงอยู่คู่กับประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สยามประเทศเคยใช้ธงชาติเป็น รูปช้างเผือก ชาวไทยเชื่อกันว่าช้างเผือกเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์ ช้างเผือกจึงได้รับการยกย่องเสมือนเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า

– ช้างเป็นผู้ปกป้องเอกราชแห่งชาติไทย

ประวัติศาสตร์ชาติไทยได้ จารึกไว้ว่าช้างได้เข้ามามีส่วนในการปกป้องเอกราชและความเป็นชาติให้แก่ชาว ไทยหลายยุคหลายสมัย ในสมัยกรุงธนบุรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงรวบรวมชายไทยให้เป็น ปึกแผ่นและมั่นคงบนหลังช้างทรงพระที่นั่ง และในสมัยพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็ได้ทรงประกาศเอกราชและความเป็นชาติ ของคนไทยบนหลังช้างทรงพระที่นั่งด้วยเช่นกัน ซึ่งช้างทรงในสมเด็จพระนเรศวรนับว่าเป็นช้างไทยที่ได้รับเกียรติอันสูงสุด โดยจากความกล้าหาญในสมรภูมิรบ ทำให้ช้างไทยเชือกนี้ได้รับพระราชทานยศให้เป็นถึง เจ้าพระยาปราบหงสาวดี

– ช้างใช้ในพระราชพิธีสำคัญต่างๆ

ช้างสร้างความสัมพันธ์ไมตรีระหว่างประเทศ

ในสมัยรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสสิงคโปร์ และเบตาเวีย (จาการ์ตา) ประเทศอินโดนีเซีย ได้พระราชทานช้างสำริดให้แก่ทั้ง 2 ประเทศนี้

– ช้างใช้เป็นพาหนะในการคมนาคม

ในยุคสมัยที่การคมนาคมยังไม่เจริญเทียบเท่ากับในปัจจุบัน มนุษย์ยังไม่ได้มีการพัฒนาเครื่องจักรต่างๆ สำหรับนำมาใช้เป็นเครื่องทุ่นแรงเพื่อการขนส่งของ ช้างคือพาหนะที่ดีและมีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับมนุษย์ เนื่องจากช้างเป็นสัตว์ใหญ่มีความเฉลียวฉลาดและมีพละกำลังมหาศาล ช้างจึงสามารถขนส่งสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในปริมาณมากได้อย่างอดทน

– ช้างใช้ในการอุตสาหกรรมทำไม้

การใช้ช้างทำไม้ในประเทศไทยเริ่มตั้งแต่การล้มไม้ การทอนไม้ซุง การขนส่งไม้จนถึงโรงงานหรือตลาดการค้า ในแง่ของการอนุรักษ์ป่าไม้ และระบบการจัดการป่าไม้ในประเทศไทย การใช้ช้างชักลากไม้ นับว่าเหมาะสมมาก เพราะช้างสามารถเดินไปได้โดยไม่ทำลายกล้าไม้ต้นเล็กๆ ไม่ทำให้ดินแน่น ไม่ต้องตัดถนนหนทางให้มากเส้น นอกจากนี้ช้างยังขึ้นเขาได้ดี และมีอายุการใช้งานนานถึง 50 ปี

ในปัจจุบัเมื่อมนุษย์ได้มีการพัฒนาเครื่องจักรและ เทคโนโลยีที่ทันสมัย ความนิยมในการใช้แรงงานจากช้างจึงค่อยๆ ลดลง แต่ช้างก็ยังคงเป็นสัตว์ที่คนไทยทั้งชาติให้ความสำคัญเสมอดังนั้นรัฐบาลไทย จึงได้กำหนดให้ช้างเผือกเป็นสัตว์สัญลักษณ์ของชาติ โดยกำหนดให้ทุกวันที่ 13 มีนาคมของทุกปีเป็นวันช้างไทย

วันช้างไทย

ความสำคัญของช้างต่อประวัติศาสตร์ ชาติไทย

ข้อความที่ปรากฎอยู่ในศิลาจารึก สุโขทัยหลักที่หนึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าในสมัยที่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีนั้น ‘ช้าง’ คือขุนพลที่ร่วมรบอยู่ในสมรภูมิจนมีชัยชนะ อีกทั้งพระมหากษัตริย์ทรงประทับช้างนำ ราษฎรไปบำเพ็ญกุศลตามพระอารามในอรัญญิก จะเห็นได้ว่าทั้งในยามศึกและยามสงบช้างอยู่คู่แผ่นดินสุโขทัยเรื่อยมา ช้างมีความสำคัญมากถึงเพียงนี้ จึงมีการสอนวิชาขับขี่ช้างซึ่งเป็นวิชาสำคัญสำหรับเจ้านายและลูกผู้ดีเพื่อ ยังประโยชน์ในการใช้ช้างเป็นพาหนะและเตรียมการเพื่อศึกสงคราม

– ช้างใช้ในการศึกสงครามในอดีต ในสมัยโบราณ ช้างเป็นยุทธปัจจัยสำคัญของกองทัพเปรียบได้กับรถถังประจัญบานของนักรบใน ปัจจุบัน ทว่าชัยชนะทีง่างามกว่าหลายเท่า เพราะมนุษย์ที่นั่งอยู่บนคอช้างต้องเชี่ยวชาญอาวุธของ้าว ใช้ความกล้าหาญไสช้างแต่ละเชือกพุ่งตรงเข้ารบปะทะกันตัวต่อตัว ช้างต่อช้างเข้าชนกันนั้น หากช้างของผู้ใดมีความสามารถมากกว่าก็จะงัดช้างศัตรูขึ้นด้วยงาจนแหงนหงาย หรือเบนบ่ายจนได้ที เพื่อให้แม่ทัพบนคอช้างส่งอาวุธเข้าจ้วงฟันคู่ต่อสู้ ช้างกับนักรบบนคอช้างจึงต้องมีกำลังแข็งแรงฝีมือเข้มแข็ง ทั้งคู่จึงจะได้ชัยชนะมาประดับเป็นเกียรติยศพระเจ้าแผ่นดิน

การรบบนช้างหรือที่เรียกว่า ยุทธหัตถี นั้น เกิดขึ้นไม่บ่อยนักในประวัติศาสตร์ไทย แต่ครั้งสำคัญที่สุด ซึ่งคนไทยยังกล่าวขวัญจดจำไม่รู้ลืม คือ การยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาและพระมหาอุปราชาแห่งหงสาวดี ที่ตำบลหนองสาหร่าย แขวงเมืองสุพรรณบุรี เมื่อปีพุทธศักราช 2135 หรือกว่า 400 ปีล่วงมาแล้ว

กิจกรรมวันช้างไทย

กิจกรรมวันช้างไทยทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนได้มีการจัดกิจกรรมพิเศษมากมาย อาทิเช่น การจัดสะโตกช้าง หรือขันโตกช้าง โดยช้างจะรับประทานอาหารของช้างที่ทางปางช้างได้จัดหาไว้ให้เป็นอย่างดี ในวันนี้เด็กนักเรียนจะสามารถข้าชมได้ฟรีเพื่อเป็นการส่งเสริม ให้เด็ก เห็นคุณค่าของช้างไทยและความสำคัญของวันช้างไทย

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก : สมาคมช้างไทย , บ้านฝันดอทคอม , รวมข่าวประชาสัมพันธ์ภาษาไทย , ฟ้าล้านนาเน็ต
ขอบคุณภาพประกอบจาก : http://www.tlcthai.com/education/history-of-thailand/4437.html
http://www.thaigoodview.com/node/16955
http://www.paoyingshub.net/activityshow.php?room=activity&contentgroup=%A2%E8%D2%C7%BB%C3%D0%AA%D2%CA%D1%C1%BE%D1%B9%B8%EC&id=327
http://www.oknation.net/blog/phaen/2010/03/13/entry-1

สรุปงาน ม.5 วันนี้

สรุปงาน ม.5 วันนี้

ตัวอย่างการสรุปแผนผังความคิด เรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ม.5 ทำแนวนี้มาส่งด้วยนะคะ
ใส่กระดาษ A4 แล้วพับติดใส่สมุด มาส่งนะคะ

ซุ้มแต่งงานหวานฉ่ำด้วยดอกไม้ ทำง่าย ๆ ด้วยมือคุณเอง

ช่วงนี้เห็นคนแต่งงานกันเยอะคะ เลยเอาการจัดซุ้มอย่างง่ายๆมาฝาก

ซุ้มแต่งงาน D.I.Y

 

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก greenweddingshoes.com 

สำหรับคู่บ่าวสาวที่หลงรักธรรมชาติ ก็คงแพลนกันว่าจะจัดงานแต่งเอาท์ดอร์แน่ ๆ เช่น จัดในสวนหย่อมที่เต็มไปด้วยต้นไม้ พื้นหญ้าสีเขียว แสงแดด ลมพัดเบา ๆ แหม…อากาศสดชื่นดีจริงเชียว แต่ถ้ามีซุ้มแต่งงานสไตล์หวาน ๆ โทนสีชมพูเพิ่มเข้ามาด้วยล่ะก็ คงสร้างบรรยากาศให้โรแมนติกและหวานฉ่ำมากขึ้นไปอีก วันนี้กระปุกเวดดิ้งจึงขอนำเสนอวิธีทำซุ้มแต่งงานแบบ D.I.Y จากเว็บไซต์greenweddingshoes.com มาฝากกันจ้า ส่วนจะมีอุปกรณ์และวิธีการทำอย่างไรนั้น ไปดูกันเลย

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

1. ไม้สำหรับทำโครงซุ้ม

2. แกนสำหรับแขวนผ้าม่าน

3. ผ้าสีชมพูอ่อน ยาวประมาณ 12 หลา

4. ริบบิ้นโทนสีชมพู ยาว 40 หลาขึ้นไป

5. ดอกไฮเดรนเยีย (Hydrangea) 20 ก้าน

6. ยูคาลิปตัส 2 ก้าน

7. ดอกบานไม่รู้โรยสีชมพู 1 ก้าน

8. ดอกทิลแลนเซีย (Tillandsia) 2 ดอก

9. บันได กรรไกร ลวด และด้าย

          หมายเหตุ : สามารถปรับเปลี่ยนดอกไม้ได้ตามต้องการ เพื่อให้เข้ากับธีมของงานแต่งงาน

ขั้นตอนการทำ

ซุ้มแต่งงาน D.I.Y

 1. ประกอบโครงร่างซุ้มด้วยไม้ขึ้นมาก่อน โดยทำเป็นทรงสี่เหลี่ยมและมีขาตั้ง คล้าย ๆ กับโต๊ะ แต่ไม่ต้องมีอะไรมาปิดด้านบน หรือมีลักษณะคล้ายโครงร่างโปร่ง ๆ หลังจากนั้นนำแกนสำหรับแขวนผ้าม่านมาติดกับขอบด้านบนของโครงซุ้มโดยใช้ลวดเป็นตัวยึดเข้าไว้ด้วยกัน เสร็จแล้วให้นำผ้าที่เตรียมไว้มาสอดที่แกนผ้าม่าน

ซุ้มแต่งงาน D.I.Y

  2. ใช้กรรไกรตัดผ้าให้เป็นริ้ว ๆ เพิ่มมิติให้กับซุ้มดูสวยงามมากขึ้น

ซุ้มแต่งงาน D.I.Y

 3. นำริบบิ้นมาประดับเพิ่มเติม โดยเลือกประดับตรงบริเวณที่เหมาะสม ลองดูว่าเมื่อใส่ริบบิ้นเข้าไปแล้วมันดูออกมาพอดิบพอดีหรือเปล่า ถ้าหากว่ารกเกินไปก็ไม่ต้องเพิ่มตรงจุดนั้น ขั้นตอนนี้คุณสามารถดีไซน์การติดริบบิ้นได้ตามใจชอบเลยค่ะ

ซุ้มแต่งงาน D.I.Y

  4. ก่อนจะจัดดอกไม้เป็นช่อให้สวยงาม ต้องนำหลอดพลาสติกที่บรรจุน้ำมาเสียบไว้ที่ปลายก้านของดอกไม้เสียก่อน เพื่อที่ดอกไม้จะได้บานสดชื่นตลอดวันจนงานเลิก หลังจากนั้นค่อยจัดดอกไม้หลากชนิดที่เตรียมไว้ และใช่ด้ายมัดให้เป็นช่อเล็ก ๆ เสร็จแล้วนำแต่ช่อมาประดับไว้บริเวณด้านขอบบนของซุ้ม โดยใช้ลวดยึดเข้าไว้ด้วยกัน

เห็นไหมล่ะคะ…เพียงเท่านี้คุณก็มีซุ้มแต่งงานหวาน ๆ เป็นฉากสำหรับถ่ายรูป และเก็บภาพเหล่านั้นไว้เป็นความทรงจำอันแสนวิเศษตลอดไป นอกจากนี้ จะเห็นว่าข้อดีของงาน D.I.Y คือคุณสามารถออกแบบปรับแต่งได้ตามใจชอบ จนได้ซุ้มแต่งงานที่ถูกใจคุณเป็นที่สุดอีกด้วย

=============================================================================

ขอบคุณข้อมูลจาก  http://wedding.kapook.com/%E0%B8%8B%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89-71765.html

 

 

 

นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่กับ “พ.ร.บ.นิรโทษกรรม” เพราะเหตุใด

ประวัติศาสตร์ไทย(การเมือง) สู่ปัจจุบัน (งาน ม.5)

เทอมนี้ ม.5 เราจะต้องเรียนเกี่ยบกับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดในประเทศ คือ

14 ตุลาคม 2516

 6 ตุลาคม 2519

พฤษภาทมิฬ 2535

         แต่เดี๋ยวเราจะตกกระแส ช่วงนี้กระแสมาแรงคะ  เกี่ยวเนื่องกัน ครูเลยชวนนักเรียนมาเรียนเกาะกระแสกันก่อน

เดี๋ยวไม่ทันข่าว  ไม่ทันเหตุการณ์กัน  คือ “พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม” ค่ะ

เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมาการเมืองไทยมีการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแบบชนิดเหมาเข่งมาแล้วหลายครั้งหลายหน เริ่มตั้งแต่สมัย นายปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรี สมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม และเข้าถึงยุคประชาธิปไตยเต็มใบ ในสมัย นายสัญญา ธรรมศักดิ์ คงมีการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา อันเกี่ยวเนื่องกรณีการเดินขบวน เมื่อ 13 ตุลาคม 2516 พ.ร.บ.นิรโทษกรรมสมัยนายกฯ อานันท์ ปันยารชุน ให้คณะ รสช. และสมัย พล.อ.สุจินดา คราประยูร ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ  (หนังสือพิมพ์บ้านเมือง วันที่ 31/10/2556)

ครูจึงอยากให้นักเรียนไปศึกษาเกี่ยวกับ  “กฎหมายนิรโทษกรรม”  ครั้งล่าสุดนี้  แล้วให้นักเรียนตอบคำถาม

“นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่กับพ.ร.บ.นิรโทษกรรม  เพราะเหตุใด  จงอธิบาย”

(ใครจะตอบว่าเห็นด้วยก็ได้ หรือไม่เห็นด้วยก็ได้ ตามความเห็นของนักเรียน แต่จะต้องไปหาข้อมูลมาแล้วตอบคำถามว่าเพราะเหตุใดนักเรียนจึงคิดเช่นนั้น  ให้อ้างอิงที่มาของข้อมูลด้วยนะคะ)

=====================================================================================

เนื้อหาของกฎหมายนิรโทษกรรม

พรบ นิรโทษกรรม

ดูชัด ๆ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับ วรชัย เหมะ ทำไมมีทั้งคนหนุน-ต้าน

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

คงต้องลุ้นกันจนตัวโก่งว่า การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม โดยการนำเสนอของ นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย (พท.) พร้อมด้วยบรรดาทนายความกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรคเพื่อไทย จำนวน 21 คน ร่วมกันลงชื่อให้การสนับสนุน เสนอร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ตลอดช่วงเดือนสิงหาคม 2556 นี้ จะแล้วเสร็จและผ่านการพิจารณาหรือไม่

หลังจากที่ในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา ได้มีบุคคลหลายกลุ่ม อาทิ กลุ่มหน้ากากขาว ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ โดยการนำของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคฯ ออกมาคัดค้านการนำร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ เพราะเชื่อว่าหากผ่านการพิจารณา จนออกมาเป็นตัวบทกฎหมายฉบับสมบูรณ์แล้ว จะเป็นการปูทางให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ได้กลายเป็นนักโทษชายที่หนีคำพิพากษาศาลจำคุก 2 ปี ในคดีที่ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบพ้นผิด จะสามารถกลับบ้านได้

ขณะเดียวกันทางกลุ่มคนเสื้อแดงก็ได้ออกมาให้การสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมอย่างสุดตัว เนื่องจากมีเนื้อหาหลักที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้ต้องขัง ที่ถูกจับกุมจากกรณีการเข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง เมื่อปี 2553 ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความไม่สงบในบ้านเมือง จนต้องติดคุกนานหลายปี และยังไม่ได้รับการอนุมัติให้มีการประกันตัวเฉกเช่นกลุ่มอื่น ซึ่งบุคคลเหล่านั้นต่างเรียกร้องขอกลับออกมาหาครอบครัวที่รออยู่

สำหรับร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีทั้งหมด 7 มาตรา โดยมีสาระสำคัญอยู่ที่มาตราที่ 3 และ 4 ซึ่งว่าด้วยการละเว้นโทษให้ผู้ที่ชุมนุมทางการเมืองหรือแสดงออกทางการเมือง ที่ได้กระทำการใด ๆ อันเป็นผลกระทบต่อร่างกาย ชีวิต ทรัพย์สิน และสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของบุคคล ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 ถึง 10 พฤษภาคม 2554 ไม่เป็นความผิดต่อไป และให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากการกระทำผิดโดยสิ้นเชิง ถึงแม้จะอยู่ระหว่างการต้องคำพิพากษาหรือการรับโทษ ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลงทั้งหมด โดยมีรายละเอียดทั้งหมดดังนี้

หลักการ

ให้มีกฎหมายว่าด้วยนิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน ระหว่างวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เหตุผล

เนื่องจากสังคมไทยที่ผ่านมาอยู่ในสภาวะที่สร้างความแตกแยกทางความคิดมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายให้แก่ชาติบ้านเมืองจนปัจจุบัน ด้วยสืบเนื่องจากสถานการณ์บ้านเมืองตกอยู่ในความคิดที่ไม่เคารพในระบอบประชาธิปไตย มีการชุมนุมประท้วงรัฐบาลจนนำไปสู้การยึดอำนาจการปกครอง เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เหตุการณ์นี้สร้างความขัดแย้งทางการเมืองและทางสังคมที่รุนแรงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนทำให้เกิดการใช้บังคับกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมสร้างความรู้สึกสับสนและไม่เท่าเทียม การเลือกปฏิบัติเกิดขึ้นในทางความคิดทางการเมืองของประชาชนเป็นวงกว้างจึงมีการชุมนุมประท้วงทางการเมืองของประชาชนจนเกิดการกระทำผิดต่อกฎหมายบ้านเมืองอันนำไปสู่การกล่าวหาและมีการดำเนินคดีกับผู้ที่เข้าร่วมการชุมนุมจำนวนมากทำให้ถูกจำกัดเสรีภาพและอิสรภาพในระหว่างการถูกกล่าวหาทางอาญา อันเป็นผลมาจากภาครัฐได้ประกาศและบังคับใช้กฎหมายที่เคร่งครัดและขาดความยืดหยุ่นจนเกินความจำเป็น ซึ่งสภาพปัญหาดังกล่าวได้เกิดเป็นปัญหาร้าวลึกลงไปสู่สังคมไทยในทุกระดับและนำมาซึ่งความหวั่นไหวขาดความเชื่อมั่นในการดำเนินชีวิตให้เป็นปกติสุขของประชาชนทั่วไป

ปรากฏการณ์ดังกล่าวสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประเทศชาติทั้งทางด้านความมั่นคง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทย ทั้งนี้ เมื่อได้คำนึงว่าบรรดาการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ได้กระทำไปเพื่อแสดงออกซึ่งความคิดทางการเมืองของประชาชน ซึ่งมีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความขัดแย้งในทางการเมืองอันเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ จึงสมควรให้มีการนิรโทษกรรมแก่ประชาชนในกรณีดังกล่าว เพื่อเป็นการให้โอกาสแก่ประชาชนซึ่งเป็นพลเมืองของประเทศและเป็นการรักษาคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ทั้งเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยโดยใช้หลักนิติธรรม อันจะเป็นรากฐานที่ดีต่อการลดความขัดแย้ง และสร้างความปรองดองของคนในชาติ โดยต้องคำนึงถึงมูลเหตุจูงใจของการกระทำที่ประชาชนได้แสดงออกทางการเมืองเพื่อจะทำให้สังคมไทยและประเทศชาติกลับมาสู่ความสงบสุขเรียบร้อยมีความสมัครสมานสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคงและเข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. …”

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3 ให้บรรดาการกระทำใดๆ ของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองหรือการแสดงออกทางการเมือง หรือบุคคลซึ่งไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุมทางการเมือง แต่กระทำการนั้นมีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง โดยการกล่าวด้วยวาจาหรือโฆษณาด้วยวิธีการใด เพื่อเรียกร้องหรือให้มีการต่อต้านรัฐ การป้องกันตน การต่อสู้ขัดขืนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือการชุมนุม การประท้วงหรือการแสดงออกด้วยวิธีการใดๆ อันอาจเป็นการกระทบต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของบุคคลอื่น ซึ่งเป็นเหตุการณ์สืบเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง หรือการแสดงออกทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ไม่เป็นความผิดต่อไปและให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง

การกระทำในวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการกระทำใด ๆ ของบรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ หรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในห้วงระยะเวลาดังกล่าว

มาตรา 4 เมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับแล้ว ถ้าผู้กระทำการตามมาตรา 3 วรรคหนึ่งยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาลหรืออยู่ในระหว่างการสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนผู้ซึ่งมีอำนาจสอบสวน หรือพนักงานอัยการระงับการสอบสวนหรือการฟ้องร้อง หากถูกฟ้องต่อศาลแล้วให้พนักงานอัยการ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องระงับการฟ้องหรือให้ถอนฟ้อง ถ้าผู้นั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีไม่ว่าจำเลยร้องขอหรือศาลเห็นเอง ให้ศาลพิพากษายกฟ้องหรือมีคำสั่งจำหน่ายคดี ในกรณีที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษบุคคลใดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิด ถ้าผู้นั้นอยู่ระหว่างการรับโทษให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลงและปล่อยตัวผู้นั้น

มาตรา 5 การนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับนิรโทษกรรมในอันที่จะเรียกร้องสิทธิ หรือประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น

 มาตรา 6 การดำเนินการใด ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่เป็นการตัดสิทธิของบุคคลซึ่งไม่ใช่องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐในการเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่ง จากการกระทำของบุคคลใดซึ่งพ้นจากความรับผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และทำให้ตนต้องได้รับความเสียหาย

 มาตรา 7 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ขอบคุณข้อมูลจาก  http://hilight.kapook.com/view/89551

=====================================================================================

ตัวอย่างลิงค์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

http://pantip.com/topic/31185190

http://www.banmuang.co.th/2013/10/%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94/

http://prachatai.com/journal/2013/08/47979

รวมข่าวกฎหมายนิรโทษกรรม  http://news.kapook.com/topics/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1

สวัสดีวันจันทร์ (งาน ม.4นะคะ)

2012-11-26 07.34.14

พาวเว่อพ้อย แบ่งเป็นกลุ่มล่ะ 4 คน ทำเรื่องใดก็ได้

  1. ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (เรเนสซอง)
  2. การปฏิรูปศาสนา
  3. ยุคแห่งการสำรวจ
  4. การปฏิวัติอุสาหกรรม

นักเรียนจะต้องรีบทำตั้งแต่เริ่มเปิดเทอม เพราะเท่ากับนักเรียนได้เรียนรู้ ได้อ่านมาก่อน

เป็นการเตรียมตัวก่อนเรียน และให้งานกันไว้ตั้งแต่ต้นเทอมนี่แหละ จะได้ไม่เบี้ยว

เทอมนี้ปรับปรุงตัวนะคะ   ส่งงานให้ครบ   ตั้งใจเรียน  ไม่อนุโลมเหมือนเทอมที่แล้วแล้วนะ

สวัสดีวันเสาร์

สวัสดีวันเสาร์

วันหยุดมีใครมีกิจกรรมไปไหนบ้างคะ ส่วนครูเพียวก็อยู่บ้าน ทำงานบ้าน วันนี้ขอพักสบายๆก่อนวันจันทร์จะต้องไปเจอนักเรียน แล้วเจอกันวันจันทร์นะคะ (คิดว่าใส่บิ๊กอายล่ะสิ ไม่ได้ใส่นะ ตาโตอยู่แล้ว ^^ อีกอย่างบิ๊กอายใส่แล้วเคืองตาค่ะ เลยไม่ชอบใส่ เด็กๆใส่บิ๊กอายกันบ่อยๆก็รักษาความสะอาดให้ดี ใช้อย่างระวังนะคะ ครูเป็นห่วง)

แปลงร่างเป็น “นางไม้”

อิอิ

วันนี้คนยังมาน้อย ก็เลยแปลงร่างเป็น “นางไม้” ^^  5555 คุณครูทำไม ดื้อ อย่างนี้

แหม่ๆๆๆ เช้าๆ  มายิ้มกันวันล่ะนิดจิตแจ่มใสนะคะ  ยิ้มกันเยอะๆ ก่อนเรียน ^_____^

การอบรมสร้างสื่อด้วยเวปบล็อค 30-1 ตุลาคม 2556  ดีมากคะ  เป็นครั้งแรกที่ทำเวปบล็อคคะ  ครูเพียวเป็นลูกศิษย์ขยันเกินคะ

เลิกอบรมก็นั่งทำต่อ ตอนเย็นก็ทำต่อ อิอิ งานเลยเยอะคะ ดีใจมาก เพื่อน พี่ๆน้อง เข้ามาเยี่ยมชมเยอะเลยคะ ดีใจจัง ^^ ตั้งใจทำมากๆ  เพราะโดยปกติแล้วครูเพียวชอบใช้โซเชียลเนตเวิคเป็นสื่อการสอนอยู่แล้ว มีพาวเวอพ้อย มียูทูป ใช้สอน เลยคิดว่าถ้าเราตั้งใจทำเวปบล็อคให้ดีตั้งแต่ตอนนี้เลยมันก็จะสบายทีหลัง เพราะครูเพียวก็จะใช้เวปบล็อคนี้เป็นกล่องเก็บสื่อการสอน  และเพื่อนๆสามารถเข้ามาดู ติ ชม ได้นะคะ

ขอบคุณ ผอ วิทยากร เพื่อนๆครู  และเพื่อนๆที่เข้ามาเยี่ยมชมเวปบล็อคนี้นะคะ

ครูณัฏฐา  ราชมูล